เป้าหมาย (Understanding Goal)

week10

        

การปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 20- 24 มิถุนายน 2559

   

20/มิ.ย/59

กิจกรรมในพื้นที่สีขาวของวันนี้คือการเล่านิทานซึ่งได้เทคนิคในการเล่านิทานเพิ่มมากขึ้น จากการสังเกตดูเนื่องจากว่าเราอ่านหนังสือออกเลยรู้ว่าในนิทานเขียนว่าอย่างไรบ้าง แต่ที่ครูเล่าครูจะมีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาเป็นจินตนาการจากตัวครูเองไม่ได้อ่านแค่ในหนังสือเท่านั้น น้ำเสียงน่าตื่นเต้น ไม่ได้มีแค่โทนเสียงเดียว หลังจากกิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะในตอนเช้าเสร็จแล้วต่อมาเป็นกิจกรรมจิตศึกษาซึ่งในวันนี้ครูต้องการให้เด็กๆ มีจิตจดจ่อ กล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตาครูจึงให้เด็กๆ สร้างพี่สะพานเชื่อมเข้าหากันเป็นวงกลมโดยการนำหลอดมาต่อกันทีละคนจนสำเร็จแล้วให้เด็กๆ เดินข้ามพี่สะพานไปขอพรกับนางฟ้า  กิจกรรมนี้ทำให้เด็กอยู่กับตัวเองมากขึ้นเนื่องจากเขาจะต้องต่อหลอดในมือเข้าหากันให้ได้ซึ่งเด็กบางคนไม่รู้ว่าจะต่อได้ด้วยวิธีไหน แต่ก็ทำให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเด็กได้ดีเลยทีเดียวนั่นคือ การถามเพื่อนคนที่นั่งข้างๆ  หลังจากนั้นเป็นการมอบพลังความรักของครูและเด็กโดยการโอบกอดให้หัวใจชนกัน  เด็กๆ จะได้ฟังนิทานทุกวัน วันละหนึ่งเรื่องก่อนที่จะทำกิจกรรม PBL









21/มิ.ย/59

กิจกรรมจิตศึกษาในวันนี้เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เป็นการร้อยพวงมาลัยโดยการนับจำนวนดอกรัก โดยครูกำหนดให้เด็กๆ หยิบคนละ 20 ดอก แล้วร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อมอบให้กับคนที่เรารัก ครูให้เด็กๆ นำพวงมาลัยไปปักลงกระถางที่อยู่ตรงกลางห้อง กิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้ฝึกสมาธิ จดจ่อ ฝึกการนับจำนวนและได้พัฒนากล้ามเนื้อมือให้ประสานสัมพันธ์กับตาอีกด้วย  และหลังจากนั้นเป็นการมอบพลังความรักให้ซึ่งกันและกัน  ในวันนี้ได้หยิบนิทานเรื่อง “เจ้าหมูหูหาย” มาเล่าให้เด็กฟัง เนื่องจากเด็กๆ เรียนรู้เรื่องส่วนต่างๆ ของร่างกาย  จึงนำเทคนิคที่ได้มาจากเมื่อวานมาปรับใช้ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ  จากที่มีแค่หูเราก็เล่าให้มีส่วนต่างๆ ของร่างกายเพิ่มมากขึ้น แต่จะสับสนว่าจะลงตรงไหนในนิทานหน้าถัดไป  ในส่วนของกิจกรรม PBL  ครูให้เด็กๆ ได้วาดภาพส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เด็กๆ รู้จัก








22/มิ.ย/59

ในเช้านี้กิจกรรมจิตศึกษาที่เด็กๆ ต้องทำทุกวันพุธคือ การทำโยคะ การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก จากการสังเกต  เด็กๆ จะรู้ว่าท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน จะต้องทำแบบไหนบ้าง ในท่ายืนเด็กๆ ยังทำท่าต้นไม้ไม่ได้เนื่องจากว่าจะต้องยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้นเป็นการทรงตัวที่ลำบากสำหรับเด็กๆ ส่วนในท่านั่งจะมีท่าผีเสื้อ ท่าเต่าและท่าหงส์  สามท่านี้เด็กๆ ทำได้ดีทรงตัวได้  ส่วนสุดท้ายคือท่านอน ท่าที่ยังทรงตัวไม่ได้คือท่า ตั๊กแตนที่ต้องใช้ท้องดันตัวเองขึ้นมา  ต่อมาเป็นการมอบพลังความรักให้ซึ่งกันและกันระหว่างครูกับเด็กและเด็กกับเด็กเอง  หลังจากนั้นครูให้เด็กๆ ปั้นดินน้ำมันเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกาย การปั้นดินน้ำมันทำให้เห็นพัฒนาการของเด็กในหลายๆ อย่าง ทั้งด้านกล้ามเนื้อมือ  สายตา และจินตนาการ









23/มิ.ย/59

ครั้งแรกกับการที่ได้เป็นคนทำจิตศึกษา  รู้สึกกลัวและเป็นกังวลเนื่องจากเคยแค่สังเกต  จดจำ เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการเก็บเด็กเท่านั้น กิจกรรมจิตศึกษาที่ได้ให้เด็กทำในวันนี้ทำกับน้องอนุบาล 1 คือ แปลงร่างหัวใจสื่อรัก โดยที่ให้เด็กๆ ได้แกะกระดาษทิชชูที่ซ้อนกันเป็นรูปหัวใจออกทีละชิ้นอย่างตั้งใจ มีสมาธิจดจ่อ อยู่กับตัวเอง และเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้ประสานสัมพันธ์กับตา  เมื่อเด็กๆ แปลงร่างหัวใจเสร็จได้มีการถามคำถามเพื่อกระตุ้นการคิด คือ หัวใจที่อยู่ในมือของเด็กๆ นี้จะมอบให้กับใครบ้าง ทำไมถึงมอบให้กับคนนี้  คำตอบที่ได้ส่วนมากจะมอบให้กับ พ่อ แม่ คุณครู  เพราะว่ารัก หลังจากนั้นได้กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตตามเดิมโดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรม PBL ของพี่อนุบาล 2 คือการปะติดส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เด็กรู้จัก  เรียนรู้  เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง

24/มิ.ย/59


ในเช้าของวันศุกร์เป็นวันของการสัมมนาครั้งที่ 1 ของนักศึกษาปี 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในช่วงเช้าเป็นการลงชื่อ เตรียมความพร้อม ตรวจเช็คและปรับเปลี่ยนงานวิจัยของทุกคนและช่วงบ่ายพบอาจารย์นิเทศก์ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวที่ได้ไปพบเจอมา เป็นการเล่าสู่กันฟังมากกว่าการสอนหรือบอกให้ทำ ได้พบเจอเพื่อนๆ ถามไถ่ถึงความเป็นอยู่ ความรู้สึกทั้งภายในและภายนอก  สิ่งที่เรียนรู้จากที่ได้พบเจอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ร่วมปรับ ร่วมแก้ และร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น